วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

พฤติกรรมทำร้ายกระดูกสันหลังมาบอกกัน....

พฤติกรรมทำร้ายกระดูกสันหลังมาบอกกัน....
More Cute Comments hi5

                 พฤติกรรมทำร้ายกระดูกสันหลังมาบอกกัน....
                1. การนั่งไขว่ห้าง จะทำให้น้ำหนักตัวลงที่ก้นข้างใดข้างหนึ่ง เป็นผลให้กระดูกคด
                2. การนั่งกอดอก ทำให้หลังช่วงบน สะบัก และหัวไหล่ ถูกยืดยาวออก หลังช่วงบนค่อมและงุ้มไปด้านหน้า ทำให้กระดูกคอยื่นไปด้านหน้า มีผลต่อเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงแขน อาจทำให้มืออ่อนแรง หรือชาได้
                3. การนั่งหลังงอ หลังค่อม เช่น การอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนาน ๆ เป็นชั่วโมง จะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้าง เกิดการคั่งของกรดแลกติค มีอาการเมื่อยล้า ปวด และมีปัญหาเรื่องกระดูกผิดรูปตามมา
                4. การนั่งเบาะเก้าอี้ไม่เต็มก้น ทำให้กล้ามเนื้อหลังต้องทำงานหนัก เพราะฐานในการรับน้ำหนักตัวแคบ
                5. การยืนพักขาลงน้ำหนักด้วยขาข้างเดียว การยืนที่ถูกต้องควรลงน้ำหนักที่ขาทั้ง 2 ข้างเท่า ๆ กัน โดยยืนให้ขากว้างเท่าสะโพกจะทำให้เกิดความสมดุลของโครงสร้างร่างกาย
                6. การยืนแอ่นพุง/หลังค่อม ควรยืนหลังตรง แขม่วท้องเล็กน้อย เพื่อเป็นการรักษาแนวกระดูกช่วงล่างไม่ให้แอ่นและทำให้ไม่ปวดหลัง
                7. การใส่ส้นสูงเกิน 1 นิ้วครึ่ง จะทำให้แนวกระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติ ซึ่งจะนำมาสู่อาการปวดหลัง
                8. การสะพายกระเป๋าหนักข้างเดียว ไม่ควรสะพายกระเป๋าข้างใดข้างหนึ่งต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนเป็นการถือกระเป๋า โดยใช้ร่างกายทั้ง 2 ข้างให้เท่าๆ กัน อย่าใช้แค่ข้างใดข้างหนึ่งตลอด เพราะจะทำให้ต้องทำงานหนักอยู่เพียงซีกเดียว ส่งผลให้กระดูกสันหลังคดได้
                9. การหิ้วของหนักด้วยนิ้วบ่อยๆ จะมีผลทำให้มีพังผืดยึดตามข้อนิ้วมือ
                10. การนอนขดตัว/นอนตัวเอียง ท่านอนหงายเป็นท่านอนที่ถูกต้องที่สุด ควรนอนให้ศีรษะอยู่ในแนวระนาบ หมอนหนุนศีรษะต้องไม่แข็งหรือนิ่มเกินไป ควรมีหมอนรองใต้เข่าเพื่อลดความแอ่นของกระดูกสันหลังช่วงล่าง หากจำเป็นต้องนอนตะแคง ให้หาหมอนข้างก่ายโดยก่ายให้ขาทั้งหมดอยู่บนหมอนข้าง เพื่อรักษาแนวกระดูกให้อยู่ในแนวตรง
            ที่บอกมานี้  ก็ทำเกือบหมดทุกข้อเลย  ว่าทำไมช่วงนี้ถึงได้ปวดหลัง  ก็ดีเหมือนกัน รู้อย่างนี้แล้ว  จะได้ปรับปรุงตัว



ผิวสวยด้วยมะเขือเทศ

 ผิวสวยด้วยมะเขือเทศ

เสื้อผ้าแฟชั่น sex ดูดวงความรัก ทำนายฝัน

อากาศเย็น ตอนกลางคืน และแดดเปรี้ยงตอนกลางวันในระยะนี้ ไม่เพียงแต่ต้องระวังเรื่องสุขภาพเพราะความแปรปรวนของอุณหภูมิเท่านั้น แต่ผิวสวย ๆ ของเราก็มีโอกาสหยาบกร้าน และเป็นปัญหาขึ้นมาได้ วันนี้เราจึงมีเรื่องผิวสวยด้วยวิธีบ้าน ๆ มาบอกกล่าวค่ะ
               มะเขือเทศ เป็นของที่หาได้ง่ายในบ้านเรา ในมะเขือเทศมีปริมาณของวิตามินซีสูง ซึ่งช่วยแก้ปัญหาเรื่องสิวและทำให้ผิวกระจ่างใส ช่วยทำให้ผิวเย็นและกระชับรูขุมขนมี Curotenoid วิตามินหลากหลายชนิด น้ำมะเขือเทศสุกมีสาร Licopersioin มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราและแบคทีเรียช่วยรักษาสิวสมานได้ดี รวมถึงมีวิตามินเอซึ่งมีหน้าที่ในการสร้างผิวสุขภาพดี เป็นกรดธรรมชาติที่มี คุณสมบัติช่วยสร้างสมดุลให้กับผิว และช่วยกำจัดน้ำมันส่วนเกินออกไป สารต้านอนุมูลอิสระในมะเขือเทศนั้นช่วยต่อสู้กับอนุมูลอิสระต่าง ๆ โดยเฉพาะในเรื่องของผิวพรรณ เช่น ช่วยรักษาสิว
              แพทย์หญิงกานต์ชนก พานิช กรรมการผู้จัดการกานต์ชนกคลินิก มีวิธีการดูแลผิวด้วยมะเขือเทศมาฝากดังนี้
          กระชับรูขุมขนด้วยมะเขือเทศและมะนาว
ผสมน้ำมะเขือเทศ 1 ช้อนโต๊ะกับน้ำมะนาวสด 2-4 หยด แล้วใช้สำลีชุบน้ำมะเขือเทศกับมะนาวที่ผสมไว้บนผิวบริเวณที่ต้องการ ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วใช้น้ำอุ่นเกือบเย็นล้างออกเพื่อทำให้รูขุมขนหดตัวลง และบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น
        รักษาสิวด้วยเนื้อมะเขือเทศ
ลองใช้วิธีนี้ในการรักษาสิวที่เรื้อรังไม่หายขาด บดมะเขือเทศสด แล้วทาให้ทั่วใบหน้า แล้วหลับตาพักผ่อนโดยทิ้งให้มะเขือเทศอยู่บนใบหน้าประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่นเกือบเย็น ใช้วิธีนี้ทุกวันเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ก็จะเห็นผล
        ล้างหน้าด้วยมะเขือเทศ
หั่นมะเขือเทศออกเป็นครึ่งลูกแล้วนำมาถูให้ทั่วใบหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 นาที พยายามถูในบริเวณที่เป็นสิวหัวดำมากกว่าที่อื่น แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น เกือบเย็น ใช้วิธีนี้เมื่อต้องการล้างหน้าพร้อมกระชับรูขุมขน และยังช่วยลดความมันส่วนเกินได้ด้วย
       กระชับรูขุมขนด้วยมะเขือเทศ
เป็นสูตรกระชับรูขุมขนแบบเย็นและอ่อนโยน โดยคั้นให้ได้น้ำมะเขือเทศสดพร้อม ดื่ม หั่นแตงกวาบางๆ แล้วบีบให้ได้น้ำแตงกวาลงไปในน้ำมะเขือเทศ คนให้เข้ากัน แล้วใช้สำลีทาให้ทั่วใบหน้า จากนั้นล้างออกด้วยน้ำอุ่นพอสมควร ควรใช้วันละหนึ่งครั้งเพื่อให้ได้ผลดี
       พอกหน้าด้วยมะเขือเทศ
โดยนำมะเขือเทศสดไร้สารตกค้าง มาปั่นให้ละเอียด (หรือคั้นสดๆ ก็ได้ หากไม่มีเครื่องปั่นผลไม้)  นำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาทีล้างออกด้วยน้ำสะอาด ทำสัปดาห์ละ 2-3  ครั้ง ทำให้ใบหน้าแลดูสดใสเปล่งปลั่งขึ้นทันตา แต่สำหรับบางคนที่ไม่มีเวลาหรือขี้เกียจทำเองละก็ ลองเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของมะเขือเทศมาใช้แทนก็ได้
นอก จากนี้ มะเขือเทศยังมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ช่วยเป็นยารักษาโรคผิวหนัง โดยใช้ใบตำให้ละเอียดทาบริเวณที่เป็นผลมีรสเปรี้ยว เสริมวิตามินซี เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยดับกระหาย ช่วยให้กระเพาะอาหาร ลำไส้ ไต ให้ทำงานได้ดีขึ้น และยังสามารถต้านอนุมูลอิสระ ขับสารพิษจากร่างกาย และเหมาะที่จะเป็นอาหารสำหรับคนเป็นโรคนิ่ว วัณโรค ไทฟอยด์ หูอักเสบ และเหยื่อตาอักเสบ โดยรับประทานผลสด ผู้ที่รับประทานมะเขือเทศเป็นประจำ จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งในลำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมากได้ ช่วยแก้อาการปวดฟัน โดยนำราก ลำต้น และใบแก่ต้มกับน้ำรับประทาน

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

บทความที่เป็นประโยชน์ ทางการตลาด

บทความที่ 1
                              เรื่อง  Below the line & Above the line
'Below the Line'... ยุทธวิธีพิชิตใจลูกค้า
                เพราะผลสำรวจจากวงการโฆษณารวมทั้งนักการตลาดหลายคนต่างให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า แม้ว่าสื่อหลัก เช่น โทรทัศน์จะสามารถเข้าถึงคนทั่วประเทศ และยังคงเป็นสื่อสำคัญที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภค แต่ทว่าปัจจุบันมีสื่อใหม่เข้ามาเป็นทางเลือกมากขึ้น ทำให้โฆษณาในจอ(ทีวี)ไม่ใช่สูตรสำเร็จในการสื่อสารกับลูกค้าอีกต่อไป...Above the line คือการซื้อ และการทำโฆษณาผ่านสื่อหลัก ได้แก่ โทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อสร้างการรับรู้ในตราสินค้าแก่ผู้บริโภคในวงกว้างภายในระยะสั้นๆ อย่างรวดเร็ว โดยใช้โฆษณาแนะนำสินค้าหรือบริการผ่านสื่อ ไม่ว่าจะเป็นหนังโฆษณาทางทีวี สปอตทางวิทยุ โฆษณาในนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นการสื่อสารทางเดียวกับผู้บริโภค ขณะที่ Below the line เป็นการสื่อสารสองทางกับผู้บริโภคในรูปแบบของการจัดกิจกรรมตลาดเพื่อเข้าถึงผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพื้นที่ ที่มีจำนวนและขนาดจำกัด เช่น การจัดกิจกรรมพิเศษทางการตลาด การส่งเสริมการขาย การจัดโรทโชว์สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM : Customer Relationship Management)สมัยก่อนหลายคนมองว่า Below the line คือ การจัดกิจกรรมทางการตลาด (Event Marketing) เพียงอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงขอบเขตของ Below the line นั้นครอบคลุมไปถึงการทำ Direct Marketing, Direct Mail, Marketing Research, Public Relation, Promotion Event, International Marketing ฯลฯ เพื่อสร้างกระแสการบอกต่อ (word of Mouth) ลักษณะปากต่อปาก หรือที่นิยมเรียกว่า "Buzz Marketing"ยกตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตสาหร่ายทอดกรอบภายใต้ยี่ห้อ "เถ้าแก่น้อย" ซึ่งเป็นธุรกิจขนาดย่อมของคนไทย เป็นที่รู้จักของคนทั่วๆไป ด้วยการนำเสนอผ่านสื่อต่างๆ ในรูปแบบของการให้สัมภาษณ์ ถึงแนวคิดการทำธุรกิจ วิธรการทำตลาด ฯลฯ โดยผู้บริหารหนุ่มวัย 21 ปี ซึ่งเป็นวิธีทำการตลาดที่แตกต่างจากขนมขบเคี้ยวในท้องตลาด ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรม โรดโชว์ ในตลาดนัดสวนจตุจักร สยามสแควร์ ซึ่งถือเป็นศูนย์การรวมของวัยรุ่น โดยมีทีม Mascot เถ้าแก่น้อย จัดกิจกรรมมีการเล่นเกมส์กับกลุ่มเป้าหมาย และให้ความรู้เกี่ยวกับสาหร่าย หรือแม้กระทั้งการโฆษณาผ่าน Internet ซึ่งเป็นสื่อที่วัยรุ่นในปัจจุบัน จนเป็นแบรนด์สาหร่ายอันดับหนึ่งของประเทศไทยที่มีอัตราการเติบโตสูงอีกตัวอย่างหนึ่ง ธุรกิจกาแฟ บ้านไร่กาแฟ ที่เป็นตำนานต้นแบบของ SMEs ไทย ที่เริ่มต้นจากปั๊มน้ำมัน จนมีสาขาถึง 106 สาขา ภายในระยะเวลา 5 ปี และมียอดขายปัจจุบันรวม 100 กว่าล้านบาทต่อปี ซึ่งตลอกระยะเวลาที่ผ่านมาเรื่องราวของ "บ้านไร่กาแฟ" จะถูกถ่ายถอดออกมาเป็นระยะๆ โดยคุณสายชล  เยาว์น้อย (ปัจจุบันเขาถอนตัวออกไปอยู่เบื้องหลัง) วิธีการสื่อสารของบ้านไร่กาแฟ ถือเป็นเทคนิคที่สามารถดึงดูดสื่อเข้ามาเป็นผู้กระจายข่าวสารให้ถึงผู้บริโภค เช่น รูปแบบของร้านที่เป็นสามเหลี่ยมอาคารทรงไมยที่เป็นเอกลักษณ์ ตามปั๊มน้ำมัน การทำกาแฟแก้วล่ะ 400 บาทออกมานำเสนอหรือแม้การใส่เสื้อผ้าบ้านไร่ ออกตามรายการ เกมแก้จน สู้แล้วรวย ทุกครั้งที่มีการเผยแพร่เรื่องราวของบ้านไร่กาแฟ สื่อกลายเป็นกระบอกเสียงในการประชาสัมพันธ์ ถ่ายทอดแนวคิดและความเคลื่อนไหวของธุรกิจ ทำให้ผู้คนเกิดความสนใจมากขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณมากมายตัวอย่างเหล่านี้ คือ จุดเด่นของ Below the Line นั้นคือ ช่วยประหยัดงบประมาณทางการตลาด พร้อมทั้งเสริมภาพลักษณ์ การรับรู้แบรนด์ในเชิงบวก และสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่า Above the Line จึงไม่น่าแปลกใจว่าการสร้างและตอกย้ำการรับรู้แบรนด์ด้วยวิธีที่กล่าวไว้ข้างต้นกลับกลายเป็นกลยุทธ์ที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในแวดวงการตลาดยุคนี้แต่ถึงแม้กระนั้นก็มิได้หมายความว่า จะเลิกทำ Above the Line ไปเลยแล้วหันมาทำ Below the Line เพราะการทำการตลาดที่ดีต้องดูบาลานซ์ สัดส่วนการสื่อสารที่เหมาะสมกับสถานการณ์ตลาด พฤติกรรมของลูกค้ารวมทั้งงบประมาณของตนเองให้เหมาะสมเพื่อสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ไกล้ชิดขึ้น เพราะนั้นจะทำให้มีโอกาสในการขายมากขึ้น ซึ่งหมายถึงยอดขายหรือรายได้ที่จะตามมานั้นเอง
ปล. ทั้งนี้บทความดังกล่าวขออ้างอิงถึงบล็อกที่ได้หยิบยกมาด้วยดังนี้ค่ะ ขอบคุณ คุณ( The World is Flat ..... "ใครว่าโลกกลม") นะครับ
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=littleknight&month=07-2007&date=04&group=7&gblog=1



บทความที่ 2        
เรื่อง กลยุทธ์ผู้นำการตลาด
                เมื่อการตลาดเป็นปัจจัยสำคัญของการแข่งขันทางธุรกิจ บริษัททั้งหลายควรจะต้อง
พัฒนาการดำเนินงานของบริษัทให้มีความโดดเด่นทางด้านการตลาดในระดับที่เรียกว่าเป็นดาวทางด้านการตลาด ซึ่งบริษัทที่เป็นดาวทางการตลาดต้องมีสิ่งต่อไปนี้อย่างชัดเจน 
                ประการแรก หัวหน้าแผนกทุกแผนกจะต้องมีวิญญาณการตลาดที่ให้ความสำคัญกับผู้บริโภคกำหนดแนวทางการทำงานของแผนกด้วยวิญญาณของนักการตลาดที่มุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจให้ผู้บริโภค อย่าปล่อยให้ภาระด้านการตลาดซึ่งหมายถึง การสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค เป็นหน้าที่ของฝ่ายการตลาด ฝ่ายขาย และฝ่ายบริการเท่านั้น ฝ่ายอื่นๆของบริษัทต้องยึดหลักลัทธิบูชาลูกค้าเช่นกัน หัวหน้าแผนกทุกแผนกต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่า ในการดำเนินงานในแผนกของตนนั้น ควรจะต้องให้พนักงานปฏิบัติตนเช่นไร จึงจะได้ชื่อว่าเป็นคนเอาใจลูกค้า เป็นคนที่ทำให้ลูกค้าพอใจ เป็นคนที่เต็มใจแก้ไขปัญหาให้ลูกค้า คิดตลอดเวลาว่าบริษัทอยู่ได้ด้วยลูกค้า ดังนั้นลูกค้าจึงสมควรเป็นสิ่งแรกที่เราควรยกย่องให้เกรียติ เทิดทูนบูชา ไม่มีความรู้สึกหมั่นไส้ หรือเป็นปฏิปักษ์กับลูกค้า 
                ประการที่สอง พนักงานทุกคนจะต้องตระหนักว่าไม่ว่าพวกเขาจะทำงานในแผนกใดก็ตาม หน้าที่ของพวกเขาก็คือช่วยให้บริษัทได้ลูกค้าใหม่ และรักษาลูกค้าเก่าเอาไว้ตลอดชีวิต ฝ่ายผลิตมีหน้าที่ผลิตสินค้าตามที่ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายต้องการ เพื่อให้สินค้าที่ผลิตออกมาเป็นที่ถูกใจของผู้บริโภค ฝ่ายการตลาดต้องช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับ Brand เพื่อให้ผู้บริโภคมีความภาคภูมิใจและมั่นใจในการซื้อ ฝ่ายขายต้องติดตามเอาใจและสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ให้เขารู้สึกเป็นคนสำคัญทุกครั้งที่ติดต่อกับนักขายของบริษัท ฝ่ายบริการจะต้องมีความเต็มใจที่จะรับใช้และช่วยเหลือลูกค้า ให้ลูกค้าเกิดความประทับใจและมีความภักดีกับสินค้าตลอดไป ฝ่ายธุรการต้องทำให้การดำเนินงานในบริษัทไม่มีความติดขัดอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆมีความพร้อมในการใช้งาน อาคารสถานที่มีความสะดวกสบาย ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ต้องมีความมั่นใจว่าได้คัดสรรพนักงานที่คุณภาพ มีวิญญาณบริการ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีบุคลิดสอดคล้องกับบุคลิกสินค้า เพื่อให้เขาสามารถเป็นทูตที่ดีของ Brand
                ประการที่สาม CEO ของบริษัทต้องเป็นคนที่มีความรู้ทางด้านการตลาด เห็นความสำคัญของการตลาด และมองว่ากิจกรรมทางการตลาดเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ไม่มองต้นทุนทางการตลาดเป็นค่าใช่จ่ายที่สิ้นเปลือง การที่สินค้าใดๆจะติดตลาดและมีคุณค่าในสายตาของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย เจ้าของสินค้าจะต้องลงทุนด้านการสื่อสารการตลาด และจัดกิจกรรมการตลาด หาก CEO ไม่เห็นความสำคัญในการดำเนินงานของกิจกรรมทางการตลาด ด้วยเชื่อมั่นว่าสินค้าของบริษัทเป็นสินค้าที่ดี จะต้องขายได้ด้วยตัวเอง ก็แสดงว่า CEO คนนั้นไม่มีวิญญาณของนักการตลาด และเป็นคนที่ไม่รู้ซึ่งถึงอำนาจของการสื่อสาร พนักงานคนใดที่ต้องทำงานภายใต้ CEO ที่ไร้วิสัยทัศฯทางการตลาดเช่นนี้ ต่อให้เก่งแค่ไหนก็ไม่มีโอกาสฉายแววเป็นดาวทางการตลาด 
                ประการที่สี่ CEO และผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีของคนที่ยกย่องบูชาลูกค้า ยึดหลักปรัชญาที่ว่า ลูกค้าคือพระเจ้าและพวกเขาควรใช้เวลาอยู่ใกล้ชิดกับลูกค้ามากกว่าการประชุมกับพนักงานในบริษัท หรืออ่านรายงานของพนักงานบริษัท ผู้บริหารต้องตระหนักว่าพนักงานของบริษัทมักจะมองผู้บริหารเป็นต้นแบบดังนั้นผู้บริหารจึงควรแสดงตนเป็นสาวกของลัทธิบูชาลูกค้าให้พนักงานเห็น ผู้บริหารต้องไม่ลงโทษพนักงานบางคนที่เอาใจใส่ลูกค้าก่อนที่จะเอาใจใส่ผู้บริหาร ผู้บริหารต้องไม่ลงโทษพนักงานบางคนที่อาจทำงานนอกหน้าที่เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้า ในขณะเดียวกันผู้บริหารต้องไม่ประเมินผลงานของพนักงานด้วยยอดขายหรือกำไรเท่านั้น แต่ต้องประเมินความสามารถในการรักษาลูกค้าเก่า ในการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าจนสามารถทำให้ลูกค้ามีความภักดีในการใช้สินค้าของบริษัทด้วย ผู้บริหารต้องไม่ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญในบริษัทจนไม่สามารถก้มหัวมาดูแลเอาใจใส่ลูกค้าได้ ในทางตรงกันข้ามต้องทำให้พนักงานเห็นว่า การให้บริการที่ดีนั้น ผู้ให้บริการนั้นต้องมีจิตใจที่พร้อมจะรับใช้ลูกค้า โดยไม่ยึดอัตตาว่าตนเองเป็นใคร มีตำแหน่งอะไร เรียนสูงแค่ไหนหรือเรียนจบอะไรมา การยึดหลักอัตตาจะทำให้คนเราถือตัว และไม่ยอมทำงานรับใช้ลูกค้า 
                ประการที่ห้า พนักงานบริษัทต้องได้รับการฝึกอบรมอย่างเข้มข้นให้รู้จักซาบซึ้งในความสำคัญของลูกค้า มีความรู้สึกกตัญญูรู้คุณของลูกค้า ด้วยความตระหนักว่าบริษัทอยู่ได้ รุ่งเรืองได้เพราะมีลูกค้ามาอุดหนุน พนักงานต้องไม่หยิ่งผยองลำพองใจ ไม่ว่าสินค้าของบริษัทจะขายดีเพียงใดก็ตาม การที่พนักงานได้ทำอะไรให้ลูกค้านั้น พวกเขาต้องไม่คิดว่าพวกเขาได้ช่วยอะไรลูกค้าแต่เขาต้องคิดว่าลูกค้ากำลังช่วยให้พวกเขามีงานทำ ความคิดเช่นนี้จะทำให้พนักงานมีจิตสำนึกที่ดีในการให้บริการแก่ลูกค้า ในการเอาใจใส่ลูกค้า ในการไม่โกรธลูกค้า และรู้จักชื่นชมลูกค้าทุกคน ไม่ว่าลูกค้าคนนั้นจะเป็นคนเช่นไร        
                ประการที่หก ในการคัดเลือกพนักงานนั้น อย่าดูความสามารถในด้านของงานที่จะต้องทำเท่านั้น จะต้องคัดเลือกพนักงานที่มีวิญญาณการตลาดด้วย จะจ้างนักบัญชีต้องจ้างนักบัญชีที่เข้าใจหลักการของการตลาดและเห็นความสำคัญทางการตลาด จะจ้างวิศวกรดูแลการผลิตต้องจ้างวิศวกรที่เข้าใจการตลาดด้วย ให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า จะจ้างพนักงานแผนกใดก็ตามนอกเหนือจากความรู้และทักษะในด้านของการงานที่เขาจะต้องทำแล้ว ก็ต้องทดสอบทัศนคติที่มีต่อลูกค้า ความเต็มใจที่จะรับใช้ลูกค้า ความเต็มใจที่จะทำให้ลูกค้ามีความสุขได้รับประสบการณ์ที่ดีในการติดต่อกับบริษัท 
                ประการที่เจ็ด พนักงานทุกคนในบริษัทมีความพร้อมและยินดีที่จะช่วยเหลือดูแลเอาใจใส่ลูกค้าไม่ว่าเขาจะทำงานแผนกใด หากเขาเป็นคนแรกที่ลูกค้าได้พบ เขาต้องให้ความช่วยเหลือตามอำนาจหน้าที่ของเขา และหากเป็นสิ่งที่นอกเหนืออำนาจหน้าที่เขา เขาจะต้องช่วยเหลือลูกค้าให้ได้พบผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ดังกล่าวได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว การที่บริษัทมีลักษณะเช่นนี้ได้ พนักงานทุกคนของบริษัท จะต้องพร้อมทำงานเกินสิ่งที่กำหนดไว้ในพันธกิจ เขาต้องไม่กลัวการทำงานเกินเงินเดือนที่ได้ เขาต้องไม่กลัวที่จะต้องทำงานมากกว่าคนอื่นในบริษัท เขาต้องไม่กลัวเสียเปรียบคนอื่นในเรื่องการทำงาน แต่เขาต้องเต็มใจที่ทำให้ลูกค้าพอใจ เพื่อให้บริษัทมีภาพลักษณ์ที่ดี และเขาเป็นคนมีน้ำใจกับเพื่อนร่วมงาน 
                อยากเป็นดาวทางการตลาด ต้องไม่ลืมแม้นาทีเดียวว่า บริษัทอยู่ได้ เพราะมีลูกค้าที่ภักดี
                ที่มา : nanosoft



บทความที่ 3
เรื่อง หลักการทำตลาดยุคใหม่ 
                การทำตลาดยุคใหม่เน้นเจาะกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง (select target) การทำตลาดยุคใหม่เน้นเจาะกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง (select target) เริ่มมีให้เห็นกันมากขึ้นในปัจจุบัน เกมการตลาดเชิงรุกที่เจาะไปที่ demographic ของกลุ่มเป้าหมาย โดยมีไลฟ์สไตล์ของแต่ละวัยเป็นโจทย์ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายผู้บริโภค อายุ อาชีพ รายได้ วันนี้ผมขอยกตัวอย่างมาเล่าสู่กันฟัง 5 รูปแบบดังนี้
1 แบ่งตาม การใช้ชีวิต
2 แบ่งตาม เพศ
3 แบ่งตามกลุ่มอายุ
4 แบ่งตาม สถานะทางการเงิน (social economic status)
5 แบ่งตามมุมมองทางความคิด หรือ (attitude)
ผมขอขยายความของทั้ง 5 แบบ
โดยเริ่มที่แบบแรกเลยนะครับการแบ่งตามการใช้ชีวิต ปัจจุบันคนในวัยเดียวกันอาจมีรูปแบบการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันมาก เช่นผู้หญิงวัยเริ่มทำงาน อายุ 25 ปี เหมือนกันบางคนอาจชอบดูหนัง ฟังเพลง บางคนอาจชอบ การท่องเที่ยว หรือ บางคนอาจชอบการอ่านหนังสือ และบางคนอาจชอบอยู่บ้านดูทีวี ซึ่งแน่นอนเธอเหล่านั้นอาจเป็นไปได้ที่จะไม่เลือกซื้อสินค้าเหมือนๆ กัน เช่น คนที่ชอบดูทีวี อยู่บ้านอาจชอบสินค้าที่เน้นความสะดวกสบาย การเลือกซื้ออาหารก็อาจจะนิยมซื้ออาหารประเภทพร้อมทาน หรืออาหารแช่แข็ง แต่ขณะเดียวกันผู้หญิงที่อายุเท่ากัน แต่ชอบเที่ยว อาหารที่เลือกซื้ออาจจะเน้นการทานข้าวนอกบ้านมากกว่าซื้ออาหารแช่แข็ง สินค้าที่ออกมาสนับสนุนการใช้ชีวิตเช่น อาหารแช่แข็งต่างๆ ที่นับวันยิ่งโตวันโตคืน ไม่ว่าเจ้าตลาดอย่าง s&p หรือคู่แข่งต่างๆ มากมายเช่น อีซี่ โก เป็นต้น
กลุ่มที่ 2  แบ่งตามเพศ สินค้าที่แบ่งตามเพศ มีมานานไม่ต่ำกว่า 10 ปี ไม่ว่าจะเป็น สินค้าฟุ่มเฟือย หรือสินค้าต่างๆ เช่น โรออน สบู่ อาหารเสริม ยาสระผม ครีมบำรุงผิว ปัจจุบัน ขยายผลไปถึง โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ แม้กระทั่งบัตรเครดิตต่างๆ เริ่มมีของผู้หญิงโดยเฉพาะ เช่น ktc For lady เป็นต้น หรือมือถือโนเกีย ลามูย์ คอลเลคชั่น และไนกี้ เลดี้ เป็นต้น
กลุ่มที่ 3  แบ่งตามอายุ มีมากมายเช่นนมพร้อมดื่ม หรือแม้กระทั้งยาสระผม เครื่องสำอาง ที่เห็นได้ชัด เช่น ซันซิล สำหรับผู้หญิงวัย 30 หรือพอนด์ สำหรับผู้หญิงวัย 35 นมแอนลีน มัม แอนลีน โกลด์ เป็นต้น
กลุ่มที่ 4  แบ่งตามสถานภาพทางการเงิน เช่นสินค้าบัตรเครดิต แพลทินัมต่างๆ หรือสินค้าที่เน้นความเป็นลิมิเตทอิดิชั่นต่างๆ ล้วน สะท้อนการใช้เงินเพื่อความเหนือกว่าเสมอ 
กลุ่มที่ 5 หรือกลุ่มสุดท้ายแบ่งตามมุมมองทางความคิดหรือ attitude สินค้ากลุ่มนี้มักเป็นสินค้าที่เกิดขึ้นมาทีหลัง หรือสินค้าที่หาโอกาส การทำตลาดจากช่องโหว่ของสินค้าเจ้าตลาด
เช่น การเปิดตัวของออเร้นจ์ ที่ใช้เรื่องมุมมองมาเป็นตัวสร้างความสนใจในแบนด์เป็นต้น
เห็นไหมครับปัจจุบันการทำตลาดมันมากกว่าแค่ 4P ที่เราเรียนมา ปัจจุบันการทำตลาดมีการแข่งขันสูงมาก สินค้าแต่ละตัวก็มีโจทย์ในการขยายตลาดต่างกันออกไป เช่นซันซิลซึ่งเป็นเจ้าตลาดยาสระผม ถ้าไม่ขยายด้วยการเจาะกลุ่มอายุ สินค้าในตลาดก็จะโตสูงสุดเพียงเท่านี้ หรือแม้กระทั้งบัตรเครดิตที่เน้นโปรโมท ตัวแพลทินัมนั้นจริงๆแล้วการโปรโมทตัวแพลทินัม นั้นสามารถสร้างแบรนด์ให้กับสินค้าได้เป็นอย่างดี หรือแม้แต่การเปิดตัวของ ออเร้นจ์ ต้องดึงเรื่อง attitude มานำเสนอเพราะทีมการตลาดรู้ดีว่า ระบบสัญญาณของออเร้นจ์ยังไงในระยะเวลาอันสั้น ก็ไม่สามารถทัน AIS และ DTAC ได้ การนำเสนอด้วย attitude อาจจะสามารถเปิดใจผู้บริโภคให้เลือกใช้สินค้าของเค้าได้ ดังนั้นนักการตลาดยุคใหม่จะต้องศึกษาเรื่อง lifestyle หรือรูปแบบการใช้ชีวิตของกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น
คุณเคยสังเกตไหมครับว่าเพื่อนคุณกับคุณทำไมชอบกิจกรรมบางอย่างเหมือนกัน และบางอย่างแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะจริงๆ แล้ว lifestyle หรือรูปแบบการใช้ชีวิตของมนุษย์นั้นมีอิทธิพลมาจากหลายสิ่งหลายอย่าง เช่นครอบครัว เพื่อนฝูง สังคมรอบข้างต่างๆ ล้วนมีอิทธิพลกับคนต่างๆ เหล่านั้นทั้งสิ้น
ปัจจุบันโดยเฉพาะประเทศไทยเรา สินค้าต่างๆ ตอบรับการใช้ชีวิตมากขึ้นมาก เพราะคนไทยเปิดรับเร็ว และมีระดับการศึกษาที่ดีขึ้น รวมถึงโลกปัจจุบันไร้พรมแดน ทำให้การรับสารหรือข้อมูลของคนไทยรวดเร็ว ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนหล่อหลอมให้คนรุ่นใหม่เป็นตัวของตัวเองมากยิ่งขึ้น การทำตลาดปัจจุบันจึงยากยิ่งขึ้น เพราะทุกคนต่างหาสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ทำให้การแข่งขันสูงขึ้นมาก แต่ผู้ที่ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงคือ ผู้บริโภคเองที่มีทางเลือกมากยิ่งขึ้น ฉะนั้นการทำตลาดยุคใหม่ต้องไม่ละโมบ กล้าตัดสินใจเลือกกลุ่มเป้าหมายที่อยากจะจับให้ชัดเจนเพราะแม้แต่คนวัยเดียวกันยังมี lifestyle ที่ไม่เหมือนกัน 

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ Bizweek โดย เจริญ ประดิษฐ์สกุล



บทความที่ 4
เรื่อง การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ
(IMC: Integrated Marketing Communication)
                เป็นสิ่งที่นักการตลาดรู้จักดี แต่ไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริงๆ ด้วยหลายปัจจัย อาทิ อาจไม่เข้าใจ IMC อย่างลึกซึ้งพอ หรือคิดผิดที่ว่าการโฆษณาคือการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพที่สุด และบริษัทที่ปรึกษาทางการตลาดในด้าน IMC โดยตรงมีอยู่ไม่มากนักที่ทำได้สำเร็จในช่วงที่ผู้เขียนได้ร่วมพิจารณากลยุทธ์การตลาดของธุรกิจด้าน “Slimming” (หรือลดกระชับสัดส่วนให้ดูสวยงาม) โดยที่ผู้เขียนให้แนวทางการวางกลยุทธ์ในหลักใหญ่ๆ ไว้ว่า
1. เมื่อมีการวิเคราะห์สภาพการแข่งขันและรู้ว่าตำแหน่งทางการตลาดของธุรกิจอยู่ที่ตรงไหนแล้ว ขอให้คิดกลยุทธ์การตลาดภายใต้ ธีมทางการตลาดไม่คิดแบบแยกส่วนหรือเป็นรูปแบบเดิมๆ ที่เคยทำมา
                2. การสื่อสารการตลาดเพื่อสนับสนุนกลยุทธ์การตลาดไม่ใช่เป็นการเสนอแบบที่เคยชำนาญ เช่น
                - วางแผนการลงโฆษณาใน นสพ.และนิตยสารอะไรบ้าง
                - วางแผนการทำ Event ในช่วงเทศกาลต่างๆ
                - วางแผนเรื่องการส่งเสริมการขายในลักษณะร่วมกับพันธมิตร
                โดยผู้เขียนปรับใหม่ให้คิดการสื่อสารการตลาดแบบครบเครื่องหรือแบบครบวงจรเลย และสำคัญที่สุดต้องบอก “Impact” ด้านผลสำเร็จทั้งยอดขาย ลูกค้าเป้าหมาย กลุ่มผู้มุ่งหวังภายใต้งบประมาณที่กำหนดเชื่อไหมล่ะครับทั้ง 2 อย่างข้างต้นเป็นสิ่งที่ยากมากสำหรับนักการตลาดในปัจจุบันที่จะสามารถคิดและสร้างกลยุทธ์การตลาดที่ดีให้เกิดขึ้นมาและทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง 8 แนวทางหลักต่อไปนี้จะช่วยเป็น       แนวทางในการสร้างคุณค่าของ IMC
                แนวทางที่ 1 ปรับสู่องค์กรที่มุ่งลูกค้า
                ตามจุดมุ่งหมายของ IMC คำว่า องค์กรที่มุ่งลูกค้าเป็นสิ่งแรกสุดที่ง่ายต่อการพิจารณาต่อผู้ซื้อหรือลูกค้า ในขณะที่คนกลางของโซ่คุณค่า เช่น ผู้ค่าส่ง ค้าปลีกและคนกลางอื่นอาจไม่สนใจต่อคำว่า องค์กรที่มุ่งลูกค้าดังนั้นองค์กรต้องมุ่งไปยังผู้ซื้อหรือลูกค้า โดยที่ทั้งโซ่คุณค่า (ทุกฝ่ายงาน) จะต้องเป็นการปฏิบัติการแบบไร้รอยตะเข็บ มีกุญแจหลักของเป้าหมายอยู่ที่การตอบสนองและทำให้ลูกค้าพึงพอใจ รวมทั้งสร้างความจงรักภักดีและมีรายได้จากลูกค้าสุดท้ายองค์กรลักษณะนี้จะประสบความสำเร็จได้ต้องมีช่องทางที่หลากหลายสำหรับระบบข้อมูลย้อนกลับด้านการบริการลูกค้า
                แนวทางที่ 2 การวางแผนจากภายนอก ความสำเร็จของระบบที่มุ่งลูกค้าคือ จะเกิดได้ก็โดยการเปลี่ยนวิธีการทำแผนการตลาดขององค์กร ทั้งนี้เพราะว่าการมุ่งลูกค้าต้องเป็นมากกว่าการให้บริการลูกค้าที่มีอยู่ แต่หมายถึงบริษัทที่มีความสำเร็จได้จากการกำหนดโครงสร้างของระบบธุรกิจจากงบประมาณและการวางแผนดำเนินการส่งมอบและการวัดผลงานที่ลูกค้าและผู้มุ่งหวัง การวางแผนแบบนี้ไม่เห็นด้วยกับวิธีการกำหนด ค่าใช้จ่ายด้านการตลาดกับผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการขาย (แม้ว่าความจริงยอดขายคือ การสร้างงบประมาณด้านการตลาด) ในแนวคิดของ IMC จะเป็นการวางแผนจากภายนอกโดยนักการตลาดที่ผู้จัดการสื่อสารมองลูกค้าและผู้มุ่งหวังไม่ใช่หน่วยของค่าใช้จ่าย แต่เป็นแหล่งของรายได้ต่อธุรกิจ ดังนั้นเป้าหมายคือ การจัดการสร้างความต้องการและรายได้ที่เกิดขึ้นมากกว่า ผลิตภัณฑ์และค่าใช้จ่าย ด้วยเครื่องมือโปรแกรมและกิจกรรม มาร์คอม (Marketing Communication) กับทุกฝ่ายงานภายในองค์กร
                แนวทางที่ 3  มุ่งที่ประสบการณ์ของลูกค้าทั้งหมดต้องเข้าใจว่าสิ่งที่เป็นความจำเป็นของการมุ่งลูกค้าตามกลยุทธ์ IMC นั้นเป็นการมุ่งที่ ประสบการณ์ของลูกค้าทั้งหมดซึ่งในเป้าหมายของกลยุทธ์ IMC เพื่อสร้างประสบการณ์ของลูกค้าทั้งหมดนั้นองค์กรจะต้องกำหนดในสิ่งต่อไปนี้
                ใครคือลูกค้าที่สามารถรู้ได้จากพฤติกรรมหรือข้อมูลอื่นๆ
                ประสบการณ์อะไรที่ลูกค้าเคยมีกับบริษัท
                อะไรคือสิ่งที่บริษัทสามารถเสนอหรือควรทำด้านการตลาดและโปรแกรมการสื่อสารที่จะส่งมอบเป็นประสบการณ์ที่ลูกค้าอยากได้
                ผลิตภัณฑ์ บริการและคนแบบใดที่จะสอดคล้องกับการส่งมอบประสบการณ์ดังกล่าว
กลยุทธ์การบูรณาการแบรนด์กับบริษัทจะเกิดขึ้นเมื่อลูกค้ามีความเชื่อ ความรู้สึกและประสบการณ์กับธุรกิจ    ทั้งหมดนี้เกิดมาจากที่วิถีทางที่ธุรกิจและแบรนด์สัมพันธ์กับลูกค้าและผู้ที่มุ่งหวัง คงต้องขอจบเพียง 3 แนวทางหลักการสร้างคุณค่า IMC ไว้ก่อนและจะขยายความต่อในส่วนที่เหลือคราวหน้าครับ

ที่มา : businesstha



บทความที่ 5
เรื่อง การตลาดแบบหลายระดับชั้น
                การตลาดแบบหลายระดับชั้น (อังกฤษ: multi-level marketing: MLM)  หรือ                      
การตลาดแบบเครือข่าย (อังกฤษ: network marketing)  หมายถึงระบบทางการตลาดแบบหลายระดับชั้น เป็นช่องทางการตลาดอีกหนึ่งช่องทางหนึ่งของผู้ประกอบการทางธุรกิจ รวมทั้งผู้ผลิตสินค้า ที่จะกระจายสินค้า และ/หรือ บริการของตนสู่ผู้บริโภคโดยตรง โดยไม่จำเป็นต้องผ่านตัวกลาง เช่น บริษัทจัดจำหน่าย พ่อค้าปลีก พ่อค้าส่ง ร่วมทั้งการทำการโฆษณาอย่างเช่นเคย เหมือนระบบทางการตลาดแบบดั่งเดิมที่เป็นอยู่ แต่ถ้า เมื่อบริษัทขายตรงนั้นๆ ได้เติบโตอย่างเข้มแข็งเพียงพอแล้ว ก็อาจหันมาทำการโฆษณาช่วยส่งเสริมบ้างในภายหลังก็ยังได้
ระบบเอ็มแอลเอ็มนี้ จะใช้หลักการกระจายสินค้า โดยตัวของผู้บริโภคสินค้าโดยตรงเป็นสำคัญ เป็นผู้กระจายสินค้า และ/หรือ บริการให้กับทางบริษัทขายตรงนั้นเอง ในลักษณะของการเป็นตัวแทนอิสระ หรือผู้จำหน่ายอิสระ หรือผู้บริโภคอิสระ แล้วแต่จะเรียกชื่อกันไป โดยผู้บริโภคท่านนั้นๆ จะต้องเข้าเป็นสมาชิกของบริษัทขายตรงนั้น เพื่อเข้าร่วมรับสิทธิในผลประโยชน์ทางการตลาดต่างๆ ซึ่งทางบริษัทขายตรงนั้นกำหนดให้ เพื่อเป็นค่าตอบแทนในการกระจายสินค้า และ/หรือ บริการสู่ผู้บริโภคท่านอื่นๆ ต่อไป ร่วมทั้งยังได้รับผลประโยชน์ในการชักจูงผู้บริโภครายใหม่ๆ เข้ามาเป็นสมาชิกร่วมในทีมงานของตนอีกด้วย ซึ่งถือว่าการชักจูงสมาชิกใหม่ ให้เข้าสู่ระบบเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดหรือเป็นหัวใจสำคัญ สำหรับระบบงานขายตรงเอ็มแอลเอ็มมากๆ เลย ก็ว่าได้
                ลักษณะของธุรกิจขายตรงแบบหลายชั้น
เงินลงทุนและค่าธรรมเนียมในการเริ่มต้นธุรกิจต่ำ เพียงจ่ายเงินค่าสมัครเพื่อรับคู่มือความรู้ เอกสารฝึกอบรม และผลิตภัณฑ์ตัวอย่างเท่านั้น หากต้องการลาออก บริษัทต้นสังกัดก็ยินดีคืนเงินค่าสมัคร และค่าผลิตภัณฑ์ที่ได้ซื้อไปเต็มจำนวนด้วย จำหน่ายผลิตภัณฑ์หลากชนิดที่มีคุณภาพสูง ยอดขายจะมาจากการจำหน่ายสินค้า ได้ซ้ำหลายครั้ง และความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ ดังนั้นบริษัทจะทุ่มเทเงิน ลงทุนเพื่อการวิจัย ค้นคว้าและพัฒนา คุณภาพของสินค้า รับประกันคุณภาพและความพอใจในตัวสินค้า ลูกค้าสามารถเปลี่ยนหรือคืนสินค้าได้หากไม่พึงพอใจภายในระยะเวลาที่กำหนด ตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจในระยะยาวเป็นสำคัญ เพราะ บริษัทต้องมีความรับผิดชอบต่อนักขาย ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจอย่างแท้จริงการจ่ายผลประโยชน์ รายได้ และตำแหน่งขึ้นอยู่กับการทำงานของนักขาย นั่นหมายถึง รายได้จะมาจากยอดขายที่ขายสินค้าได้
การก่อตั้งธุรกิจขึ้นอยู่กับการขายสินค้าคุณภาพ ซึ่งคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป และบริษัทจะให้ความสนใจในการขยายตลาดให้กว้างออกไปมีนักขายอิสระที่อาศัยการขายสินค้าเพื่อสร้างรายได้มีกฎระเบียบที่เข้มงวดในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะมีข้อห้ามมิให้นักขายกักตุนสินค้านักขายจะเน้นในเรื่องการขายสินค้าและการให้บริการหลังการขายอย่างต่อเนื่อง
เป็นการขายสินค้าอีกรูปแบบหนึ่งนอกเหนือจากการขายตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าปลีก และเป็นธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งผู้บริโภค นักขาย และบริษัทขายตรงได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
ทั้งนี้ ปัจจุบันได้มีการประยุกต์ระบบธุรกิจขายตรง และธุรกิจออนไลน์เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ทำให้ผลประโยชน์เกิดขึ้นกับสมาชิกมากยิ่งขึ้น ในการที่จะสามารถหาลูกค้าได้สะดวก ง่ายมากกว่าเดิม โดยรูปแบบดังกล่าวนั้นเรียกว่าระบบ Affiliate Marketing ซึงกำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันเป็นอย่างมาก




บทความที่ 6
เรื่อง การตลาดเพื่อสังคม กับกระแส CSR (ตอนแรก)
[เอ.อาร์.ไอ.พี, www.arip.co.th] หากท่านผู้อ่านได้ติดตามกระแสข่าวในแวดวงธุรกิจและอุตสาหกรรมใน 2-3 ปีที่ผ่านมา จะเป็นว่าได้มีหนังสือพิมพ์หลายฉบับเริ่มกระพือข่าว หรือ เขียนบทความเกี่ยวกับ ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร หรือที่เราเรียกกันในภาษาอังกฤษว่า Corporate Social Responsibility (CSR)
 มีคนถามว่าถ้ากิจการที่ทำงานด้วยหลักธรรมาภิบาล (Corporate Governance) ที่ดีจะถือว่าเป็นกิจการที่ยึดหลักความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยหรือไม่?
คำว่าบรรษัทภิบาล Corporate Governance นั้น ตลาดหลักทรัพย์?แห่งประเทศไทยจะใช้ วลีพากษ์ไทยว่า การกำกับดูแลกิจการที่ดีหรือ CG ผู้ที่เข้าอบรมหลักสูตรของ IOD จะทราบดีในเรื่อง CG ขณะที่ความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคมหรือ Corporate Social Responsibility (CSR) ก็เป็นกระแสหนึ่งที่คนสนใจ ฉะนั้นจึงมักมีคนถามว่ากิจการที่มี CG จะถือว่ามี CSR ได้หรือไม่ ผมมีความเห็นว่าการมี CG แม้เป็นแนวทางเดียวกับ CSR แต่ยังไม่กว้างพอ เพราะถ้าพิจารณาจากที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องการส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนมี CG โดยมีการเผยแพร่ข้อพึงปฏิบัติทั้ง 5 หมวดได้แก่
             1.สิทธิของผู้ถือหุ้น 2.การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน 3.บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย 4.การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส 5.ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
ของภารกิจด้าน CSR ซึ่งมีกิจกรรมมากมายทั้งที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจและการช่วยเหลือสังคมภายนอก การดำเนินกิจกรรมโดยมีเป้าหมายที่ผู้ถือหุ้น ผู้บริหารหรือกรรมการเป็นตัวตั้ง (ซึ่งนับว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการ) กิจกรรมเหล่านี้ไม่อาจเรียกว่าเป็น CSR ส่วนการดำเนินกิจกรรมที่ครอบคลุมไปถึงครอบครัวของพนักงาน ชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ (รวมถึงสิ่งแวดล้อม) ลูกค้า ผู้ค้า ผู้แข่งขัน และประชาชนเป็นตัวตั้ง (ซึ่งเป็นผู้ส่วนได้เสียนอกกิจการ)  กิจกรรมที่ดำเนินด้วยความรับผิดชอบต่อกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้จึงจัดว่าเป็น CSR
             การมี CSR จะต้องเกิดจากการมีจิตสำนึกที่ดี มีความเชื่อ และเต็มใจที่จะขับเคลื่อนกิจการไปด้วยความเก่งและความดี โดยผลประโยชน์ที่กิจการได้จากการดำเนินงานต้องไม่สร้างผลเสียแก่สังคมแต่กลับจะต้องช่วยเหลือสังคมด้วย
หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในฐานะกลไกส่งเสริมตลาดทุนคือ การมุ่งสร้างความมั่งคั่ง มั่นคงทางการเงิน และความยั่งยืนของกิจการเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน แต่หลักของบรรษัทภิบาลจะยึดหลักการบริหารธุรกิจที่รับผิดชอบต่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ได้รับความเป็นธรรม ทั้งลูกค้า ผู้ใช้สินค้าและบริการ ผู้ถือหุ้น พนักงาน และคู่ค้ารวมถึงผู้มีส่วนร่วมสัมพันธ์ทางธุรกิจ  ทางเครือซีเมนต์ไทยถือว่า CG เป็นส่วนหนึ่ง 
หากจัดแนวคิดของการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR :Corporate Social responsibility) อาจจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ กลุ่มหนึ่งให้ความสำคัญกับ CSR และตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยจิตวิญญาณที่บริษัทคำนึงถึงการตอบแทนกลับต่อสังคมอย่างแท้จริง 
ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งทำ CSR หรือโครงการเพื่อสังคม เพียงเพื่อใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการประชาสัมพันธ์ และเป็นหนึ่งในเครื่องมือสื่อสารการตลาด เพียงเพื่อบอกกับลูกค้าว่า "เราเป็นองค์กรที่ดี"ไม่มีใครตอบได้ว่าแนวคิดทั้ง 2 กลุ่มนั้นใครถูกใครผิด 
หากตอบได้แต่เพียงว่า การทำ CSR ในกลุ่มแรกนั้นจะสร้างความยั่งยืนในการทำธุรกิจในระยะยาวมากกว่ากลุ่มหลังเท่านั้นเอง จึงน่าสนใจว่า แล้วกระแส CSR ที่กำลังมีบทบาทมากขึ้นในสังคมไทยในขณะนี้ องค์กรธุรกิจมีแนวคิดในการทำ CSR แบบไหนมากกว่ากัน เป็นการทำเพื่อสร้างความยั่งยืนในสังคมซึ่งจะส่งผลในการสร้างความยั่งยืนขององค์กร หรือเป็นเพียงการสร้างภาพเพื่อการประชาสัมพันธ์เท่านั้น มีหลายกรณีที่โครงการระบุว่าทำเพื่อบริษัทจะเห็นว่างบประมาณในการใช้สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์นั้นมากกว่างบประมาณที่นำไปใช้ในการช่วยเหลือสังคมเสียอีกนักวิชาการในวงการ CSR คนหนึ่งเคยบอกเล่าถึงความเป็นห่วงเรื่องนี้ 
นับเป็นครั้งแรกที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทำ CSR ขององค์กรธุรกิจไทย โดยสถาบันคีนันแห่งเอเซีย จะเห็นว่าแม้จะเป็นการเก็บช้อมูลที่ไม่กว้างขวางมากนัก โดยจำกัดอยู่ที่องค์กรที่ให้ความสนใจในการทำ CSR ในไทยขณะนี้ และการเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้ฐานคนกรุงเทพฯเป็นหลัก เพียงแต่ทำให้พบข้อมูลอย่างหนึ่งที่ทำให้ต้องยอมรับความจริงบางประการและน่าจะทำให้เกิดการตื่นตัวในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้นในสังคมไทย 
นายพอล วิเดล กรรมการอำนวยการสถาบันคีนันแห่งเอเซีย เคยกล่าวในงานสัมมนาทางวิชาการ เรื่องมาตรฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) ว่า จากการสำรวจพบว่ามีผู้บริโภคไทยมีความเข้าใจเรื่อง CSR ในระดับ 3.8 จากคะแนนเต็ม 5 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคเริ่มเข้าใจและเห็นว่าการรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจเป็นเรื่องสำคัญ และยังเป็นเหตุผลให้กว่า 50% ของผู้บริโภคตัดสินใจจะเลือกซื้อของจากบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้นในอนาคต และยังพบว่าผู้บริโภคมีความตระหนักต่อเรื่องนี้มากกว่ากลุ่มผู้ผลิตเสียอีก โดยจากคะแนนเต็ม 5 ผู้บริโภคต้องการเห็นองค์กรธุรกิจรับผิดชอบต่อสังคม 3.31 ขณะที่กลุ่มผู้ผลิตมองเห็นความสำคัญของเรื่อง CSR ในอนาคต 3.23 โดยจาก 100 % ผู้บริโภคไทยคาดหวังให้องค์กรธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นบรรษัทข้ามชาติ บริษัทขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมเพิ่มขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า 
สำหรับกิจกรรมที่ผู้บริโภคคาดหวังที่จะเห็นจากบริษัท แบ่งออกเป็นการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมขององค์กร การส่งเสริมเรื่องการศึกษา และกีฬาสำหรับเด็ก รวมไปถึงการเพิ่มขีดความสามารถในระบบการผลิตด้วยการผลิตสินค้าและบริการที่มีมาตรฐานและการส่งเสริมกิจกรรมต่อต้านยาเสพย์ติด ขณะที่บริษัทหรือองค์กรธุรกิจ กิจกรรมที่บริษัทให้ความสนใจในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมนั้นจะมุ่งเน้นในเรื่องของการปรับปรุงเรื่องความปลอดภัย การส่งเสริมการศึกษา เพราะมองว่าในอนาคตการพัฒนาคนนั้นมีผลต่อการจ้างงานในอนาคต และสนใจที่จะปรับปรุงในเรื่องความคำนึงต่อสิ่งแวดล้อม การช่วยเหลือกลุ่มคนที่ประสบเหตุการณ์ภัยพิบัติ การช่วยพัฒนาชุมชนละช่วยสนับสนุนเด็ก เยาวชนและคนสูงอายุ

เรื่อง กลยุทธ์ผู้นำการตลาด

                                                                                         บทความที่ 2          
เรื่อง กลยุทธ์ผู้นำการตลาด 
                เมื่อการตลาดเป็นปัจจัยสำคัญของการแข่งขันทางธุรกิจ บริษัททั้งหลายควรจะต้อง
พัฒนาการดำเนินงานของบริษัทให้มีความโดดเด่นทางด้านการตลาดในระดับที่เรียกว่าเป็นดาวทางด้านการตลาด ซึ่งบริษัทที่เป็นดาวทางการตลาดต้องมีสิ่งต่อไปนี้อย่างชัดเจน 
                ประการแรก หัวหน้าแผนกทุกแผนกจะต้องมีวิญญาณการตลาดที่ให้ความสำคัญกับผู้บริโภคกำหนดแนวทางการทำงานของแผนกด้วยวิญญาณของนักการตลาดที่มุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจให้ผู้บริโภค อย่าปล่อยให้ภาระด้านการตลาดซึ่งหมายถึง การสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค เป็นหน้าที่ของฝ่ายการตลาด ฝ่ายขาย และฝ่ายบริการเท่านั้น ฝ่ายอื่นๆของบริษัทต้องยึดหลักลัทธิบูชาลูกค้าเช่นกัน หัวหน้าแผนกทุกแผนกต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่า ในการดำเนินงานในแผนกของตนนั้น ควรจะต้องให้พนักงานปฏิบัติตนเช่นไร จึงจะได้ชื่อว่าเป็นคนเอาใจลูกค้า เป็นคนที่ทำให้ลูกค้าพอใจ เป็นคนที่เต็มใจแก้ไขปัญหาให้ลูกค้า คิดตลอดเวลาว่าบริษัทอยู่ได้ด้วยลูกค้า ดังนั้นลูกค้าจึงสมควรเป็นสิ่งแรกที่เราควรยกย่องให้เกรียติ เทิดทูนบูชา ไม่มีความรู้สึกหมั่นไส้ หรือเป็นปฏิปักษ์กับลูกค้า 
                ประการที่สอง พนักงานทุกคนจะต้องตระหนักว่าไม่ว่าพวกเขาจะทำงานในแผนกใดก็ตาม หน้าที่ของพวกเขาก็คือช่วยให้บริษัทได้ลูกค้าใหม่ และรักษาลูกค้าเก่าเอาไว้ตลอดชีวิต ฝ่ายผลิตมีหน้าที่ผลิตสินค้าตามที่ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายต้องการ เพื่อให้สินค้าที่ผลิตออกมาเป็นที่ถูกใจของผู้บริโภค ฝ่ายการตลาดต้องช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับ Brand เพื่อให้ผู้บริโภคมีความภาคภูมิใจและมั่นใจในการซื้อ ฝ่ายขายต้องติดตามเอาใจและสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ให้เขารู้สึกเป็นคนสำคัญทุกครั้งที่ติดต่อกับนักขายของบริษัท ฝ่ายบริการจะต้องมีความเต็มใจที่จะรับใช้และช่วยเหลือลูกค้า ให้ลูกค้าเกิดความประทับใจและมีความภักดีกับสินค้าตลอดไป ฝ่ายธุรการต้องทำให้การดำเนินงานในบริษัทไม่มีความติดขัดอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆมีความพร้อมในการใช้งาน อาคารสถานที่มีความสะดวกสบาย ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ต้องมีความมั่นใจว่าได้คัดสรรพนักงานที่คุณภาพ มีวิญญาณบริการ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีบุคลิดสอดคล้องกับบุคลิกสินค้า เพื่อให้เขาสามารถเป็นทูตที่ดีของ Brand
                ประการที่สาม CEO ของบริษัทต้องเป็นคนที่มีความรู้ทางด้านการตลาด เห็นความสำคัญของการตลาด และมองว่ากิจกรรมทางการตลาดเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ไม่มองต้นทุนทางการตลาดเป็นค่าใช่จ่ายที่สิ้นเปลือง การที่สินค้าใดๆจะติดตลาดและมีคุณค่าในสายตาของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย เจ้าของสินค้าจะต้องลงทุนด้านการสื่อสารการตลาด และจัดกิจกรรมการตลาด หาก CEO ไม่เห็นความสำคัญในการดำเนินงานของกิจกรรมทางการตลาด ด้วยเชื่อมั่นว่าสินค้าของบริษัทเป็นสินค้าที่ดี จะต้องขายได้ด้วยตัวเอง ก็แสดงว่า CEO คนนั้นไม่มีวิญญาณของนักการตลาด และเป็นคนที่ไม่รู้ซึ่งถึงอำนาจของการสื่อสาร พนักงานคนใดที่ต้องทำงานภายใต้ CEO ที่ไร้วิสัยทัศฯทางการตลาดเช่นนี้ ต่อให้เก่งแค่ไหนก็ไม่มีโอกาสฉายแววเป็นดาวทางการตลาด 
                ประการที่สี่ CEO และผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีของคนที่ยกย่องบูชาลูกค้า ยึดหลักปรัชญาที่ว่า ลูกค้าคือพระเจ้าและพวกเขาควรใช้เวลาอยู่ใกล้ชิดกับลูกค้ามากกว่าการประชุมกับพนักงานในบริษัท หรืออ่านรายงานของพนักงานบริษัท ผู้บริหารต้องตระหนักว่าพนักงานของบริษัทมักจะมองผู้บริหารเป็นต้นแบบดังนั้นผู้บริหารจึงควรแสดงตนเป็นสาวกของลัทธิบูชาลูกค้าให้พนักงานเห็น ผู้บริหารต้องไม่ลงโทษพนักงานบางคนที่เอาใจใส่ลูกค้าก่อนที่จะเอาใจใส่ผู้บริหาร ผู้บริหารต้องไม่ลงโทษพนักงานบางคนที่อาจทำงานนอกหน้าที่เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้า ในขณะเดียวกันผู้บริหารต้องไม่ประเมินผลงานของพนักงานด้วยยอดขายหรือกำไรเท่านั้น แต่ต้องประเมินความสามารถในการรักษาลูกค้าเก่า ในการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าจนสามารถทำให้ลูกค้ามีความภักดีในการใช้สินค้าของบริษัทด้วย ผู้บริหารต้องไม่ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญในบริษัทจนไม่สามารถก้มหัวมาดูแลเอาใจใส่ลูกค้าได้ ในทางตรงกันข้ามต้องทำให้พนักงานเห็นว่า การให้บริการที่ดีนั้น ผู้ให้บริการนั้นต้องมีจิตใจที่พร้อมจะรับใช้ลูกค้า โดยไม่ยึดอัตตาว่าตนเองเป็นใคร มีตำแหน่งอะไร เรียนสูงแค่ไหนหรือเรียนจบอะไรมา การยึดหลักอัตตาจะทำให้คนเราถือตัว และไม่ยอมทำงานรับใช้ลูกค้า 
                ประการที่ห้า พนักงานบริษัทต้องได้รับการฝึกอบรมอย่างเข้มข้นให้รู้จักซาบซึ้งในความสำคัญของลูกค้า มีความรู้สึกกตัญญูรู้คุณของลูกค้า ด้วยความตระหนักว่าบริษัทอยู่ได้ รุ่งเรืองได้เพราะมีลูกค้ามาอุดหนุน พนักงานต้องไม่หยิ่งผยองลำพองใจ ไม่ว่าสินค้าของบริษัทจะขายดีเพียงใดก็ตาม การที่พนักงานได้ทำอะไรให้ลูกค้านั้น พวกเขาต้องไม่คิดว่าพวกเขาได้ช่วยอะไรลูกค้าแต่เขาต้องคิดว่าลูกค้ากำลังช่วยให้พวกเขามีงานทำ ความคิดเช่นนี้จะทำให้พนักงานมีจิตสำนึกที่ดีในการให้บริการแก่ลูกค้า ในการเอาใจใส่ลูกค้า ในการไม่โกรธลูกค้า และรู้จักชื่นชมลูกค้าทุกคน ไม่ว่าลูกค้าคนนั้นจะเป็นคนเช่นไร        
                ประการที่หก ในการคัดเลือกพนักงานนั้น อย่าดูความสามารถในด้านของงานที่จะต้องทำเท่านั้น จะต้องคัดเลือกพนักงานที่มีวิญญาณการตลาดด้วย จะจ้างนักบัญชีต้องจ้างนักบัญชีที่เข้าใจหลักการของการตลาดและเห็นความสำคัญทางการตลาด จะจ้างวิศวกรดูแลการผลิตต้องจ้างวิศวกรที่เข้าใจการตลาดด้วย ให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า จะจ้างพนักงานแผนกใดก็ตามนอกเหนือจากความรู้และทักษะในด้านของการงานที่เขาจะต้องทำแล้ว ก็ต้องทดสอบทัศนคติที่มีต่อลูกค้า ความเต็มใจที่จะรับใช้ลูกค้า ความเต็มใจที่จะทำให้ลูกค้ามีความสุขได้รับประสบการณ์ที่ดีในการติดต่อกับบริษัท 
                ประการที่เจ็ด พนักงานทุกคนในบริษัทมีความพร้อมและยินดีที่จะช่วยเหลือดูแลเอาใจใส่ลูกค้าไม่ว่าเขาจะทำงานแผนกใด หากเขาเป็นคนแรกที่ลูกค้าได้พบ เขาต้องให้ความช่วยเหลือตามอำนาจหน้าที่ของเขา และหากเป็นสิ่งที่นอกเหนืออำนาจหน้าที่เขา เขาจะต้องช่วยเหลือลูกค้าให้ได้พบผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ดังกล่าวได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว การที่บริษัทมีลักษณะเช่นนี้ได้ พนักงานทุกคนของบริษัท จะต้องพร้อมทำงานเกินสิ่งที่กำหนดไว้ในพันธกิจ เขาต้องไม่กลัวการทำงานเกินเงินเดือนที่ได้ เขาต้องไม่กลัวที่จะต้องทำงานมากกว่าคนอื่นในบริษัท เขาต้องไม่กลัวเสียเปรียบคนอื่นในเรื่องการทำงาน แต่เขาต้องเต็มใจที่ทำให้ลูกค้าพอใจ เพื่อให้บริษัทมีภาพลักษณ์ที่ดี และเขาเป็นคนมีน้ำใจกับเพื่อนร่วมงาน 
                อยากเป็นดาวทางการตลาด ต้องไม่ลืมแม้นาทีเดียวว่า บริษัทอยู่ได้ เพราะมีลูกค้าที่ภักดี
                ที่มา : nanosoft

เรื่อง Below the line & Above the line 'Below the Line'... ยุทธวิธีพิชิตใจลูกค้า

บทความที่ 1
                              เรื่อง  Below the line & Above the line
'Below the Line'... ยุทธวิธีพิชิตใจลูกค้า
                เพราะผลสำรวจจากวงการโฆษณารวมทั้งนักการตลาดหลายคนต่างให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า แม้ว่าสื่อหลัก เช่น โทรทัศน์จะสามารถเข้าถึงคนทั่วประเทศ และยังคงเป็นสื่อสำคัญที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภค แต่ทว่าปัจจุบันมีสื่อใหม่เข้ามาเป็นทางเลือกมากขึ้น ทำให้โฆษณาในจอ(ทีวี)ไม่ใช่สูตรสำเร็จในการสื่อสารกับลูกค้าอีกต่อไป...Above the line คือการซื้อ และการทำโฆษณาผ่านสื่อหลัก ได้แก่ โทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อสร้างการรับรู้ในตราสินค้าแก่ผู้บริโภคในวงกว้างภายในระยะสั้นๆ อย่างรวดเร็ว โดยใช้โฆษณาแนะนำสินค้าหรือบริการผ่านสื่อ ไม่ว่าจะเป็นหนังโฆษณาทางทีวี สปอตทางวิทยุ โฆษณาในนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นการสื่อสารทางเดียวกับผู้บริโภค ขณะที่ Below the line เป็นการสื่อสารสองทางกับผู้บริโภคในรูปแบบของการจัดกิจกรรมตลาดเพื่อเข้าถึงผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพื้นที่ ที่มีจำนวนและขนาดจำกัด เช่น การจัดกิจกรรมพิเศษทางการตลาด การส่งเสริมการขาย การจัดโรทโชว์สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM : Customer Relationship Management)สมัยก่อนหลายคนมองว่า Below the line คือ การจัดกิจกรรมทางการตลาด (Event Marketing) เพียงอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงขอบเขตของ Below the line นั้นครอบคลุมไปถึงการทำ Direct Marketing, Direct Mail, Marketing Research, Public Relation, Promotion Event, International Marketing ฯลฯ เพื่อสร้างกระแสการบอกต่อ (word of Mouth) ลักษณะปากต่อปาก หรือที่นิยมเรียกว่า "Buzz Marketing"ยกตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตสาหร่ายทอดกรอบภายใต้ยี่ห้อ "เถ้าแก่น้อย" ซึ่งเป็นธุรกิจขนาดย่อมของคนไทย เป็นที่รู้จักของคนทั่วๆไป ด้วยการนำเสนอผ่านสื่อต่างๆ ในรูปแบบของการให้สัมภาษณ์ ถึงแนวคิดการทำธุรกิจ วิธรการทำตลาด ฯลฯ โดยผู้บริหารหนุ่มวัย 21 ปี ซึ่งเป็นวิธีทำการตลาดที่แตกต่างจากขนมขบเคี้ยวในท้องตลาด ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรม โรดโชว์ ในตลาดนัดสวนจตุจักร สยามสแควร์ ซึ่งถือเป็นศูนย์การรวมของวัยรุ่น โดยมีทีม Mascot เถ้าแก่น้อย จัดกิจกรรมมีการเล่นเกมส์กับกลุ่มเป้าหมาย และให้ความรู้เกี่ยวกับสาหร่าย หรือแม้กระทั้งการโฆษณาผ่าน Internet ซึ่งเป็นสื่อที่วัยรุ่นในปัจจุบัน จนเป็นแบรนด์สาหร่ายอันดับหนึ่งของประเทศไทยที่มีอัตราการเติบโตสูงอีกตัวอย่างหนึ่ง ธุรกิจกาแฟ บ้านไร่กาแฟ ที่เป็นตำนานต้นแบบของ SMEs ไทย ที่เริ่มต้นจากปั๊มน้ำมัน จนมีสาขาถึง 106 สาขา ภายในระยะเวลา 5 ปี และมียอดขายปัจจุบันรวม 100 กว่าล้านบาทต่อปี ซึ่งตลอกระยะเวลาที่ผ่านมาเรื่องราวของ "บ้านไร่กาแฟ" จะถูกถ่ายถอดออกมาเป็นระยะๆ โดยคุณสายชล  เยาว์น้อย (ปัจจุบันเขาถอนตัวออกไปอยู่เบื้องหลัง) วิธีการสื่อสารของบ้านไร่กาแฟ ถือเป็นเทคนิคที่สามารถดึงดูดสื่อเข้ามาเป็นผู้กระจายข่าวสารให้ถึงผู้บริโภค เช่น รูปแบบของร้านที่เป็นสามเหลี่ยมอาคารทรงไมยที่เป็นเอกลักษณ์ ตามปั๊มน้ำมัน การทำกาแฟแก้วล่ะ 400 บาทออกมานำเสนอหรือแม้การใส่เสื้อผ้าบ้านไร่ ออกตามรายการ เกมแก้จน สู้แล้วรวย ทุกครั้งที่มีการเผยแพร่เรื่องราวของบ้านไร่กาแฟ สื่อกลายเป็นกระบอกเสียงในการประชาสัมพันธ์ ถ่ายทอดแนวคิดและความเคลื่อนไหวของธุรกิจ ทำให้ผู้คนเกิดความสนใจมากขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณมากมายตัวอย่างเหล่านี้ คือ จุดเด่นของ Below the Line นั้นคือ ช่วยประหยัดงบประมาณทางการตลาด พร้อมทั้งเสริมภาพลักษณ์ การรับรู้แบรนด์ในเชิงบวก และสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่า Above the Line จึงไม่น่าแปลกใจว่าการสร้างและตอกย้ำการรับรู้แบรนด์ด้วยวิธีที่กล่าวไว้ข้างต้นกลับกลายเป็นกลยุทธ์ที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในแวดวงการตลาดยุคนี้แต่ถึงแม้กระนั้นก็มิได้หมายความว่า จะเลิกทำ Above the Line ไปเลยแล้วหันมาทำ Below the Line เพราะการทำการตลาดที่ดีต้องดูบาลานซ์ สัดส่วนการสื่อสารที่เหมาะสมกับสถานการณ์ตลาด พฤติกรรมของลูกค้ารวมทั้งงบประมาณของตนเองให้เหมาะสมเพื่อสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ไกล้ชิดขึ้น เพราะนั้นจะทำให้มีโอกาสในการขายมากขึ้น ซึ่งหมายถึงยอดขายหรือรายได้ที่จะตามมานั้นเอง
ปล. ทั้งนี้บทความดังกล่าวขออ้างอิงถึงบล็อกที่ได้หยิบยกมาด้วยดังนี้ค่ะ ขอบคุณ คุณ( The World is Flat ..... "ใครว่าโลกกลม") นะครับ
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=littleknight&month=07-2007&date=04&group=7&gblog=1